เมนู

3. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิต
ไว้
4. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
ประพฤติมา
5. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
6. นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ
7. นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
8. นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
9. นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ.
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง
ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ
ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์.

2. อนุวาทาธิกรณ์


[634] ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การ
กล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำ
ความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้เรียกว่า
อนุวาทาธิกรณ์.

3. อาปัตตาธิกรณ์


[635] ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน?
อาบัติทั้ง 5 กอง ซึ่งอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง 7 กอง ชื่ออาปัตตา
ธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์.

4. กิจจาธิกรณ์


[636] ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน? ความ
เป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติ
กรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์.
อธิกรณ์ 4 อย่าง จบ

มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์


[637] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน 6
อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง 3 เป็นมูลแห่งวิวาทา
ธิกรณ์ รากแห่งกุศลทั้ง 3 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
รากแห่งการเถียงกัน 6 อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็น
ผู้ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์
แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดใน